ป่าหิมพานต์ (ป่าต่าง) L205
350 บาท
ลายรูปต้นไม้และลายพรรณพฤกษ์ (ลายเครือเถา)
มีอยู่ในศิลปะภาพเขียนของแต่ละประเทศ เช่น จีน, อินเดีย, รัฐประเทศที่เป็นอิสลาม แต่ละแห่งมีลักษณะเฉพาะตนแตกต่างกันไป ในประเทศไทยก็นิยมเขียนเช่นกัน เช่น ลายต้นโพ ซึ่งมักเขียนประดับหลังพระประธานในโบสถ์ วิหาร ลวดลายต้นไม้ ดอกไม้ในกระถาง แจกัน (ทางภาคเหนือเรียก หม้อดอก) นิยมเขียนบนบานประตู หน้าต่าง ฉากบังตา เพื่อเป็นพุทธบูชา เกิดเป็นลวดลายศิลปะอีกรูปแบบหนึ่งมากมายแตกต่างกันไปในแต่ละภาค ขึ้นอยู่กับการออกแบบสร้างสรรค์ของศิลปินในแต่ละท้องถิ่น ตัวศิลปินเองได้นำรูปแบบและทัศนคตินิยมนี้มาออกแบบสร้างสรรค์ในแบบของตัวเอง เพื่อเป็นการต่อยอดให้เกิดความหลากหลายในศิลปของไทย
ป่าหิมพานต์ หรือ หิมวันต์ เป็นป่าในวรรณคดีและความเชื่อในเรื่องไตรภูมิตามคติศาสนาพุทธและฮินดู มีความเชื่อว่า ป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเชิงเขาพระสุเมรุ ป่าหิมพานต์มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 โยชน์ (1 โยชน์ เท่ากับ 10 ไมล์ หรือ 16 กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ 9,000 โยชน์ ประดับด้วยยอด 84,000 ยอด มีสระใหญ่ 7 สระคือ
สระอโนดาต
สระกัณณมุณฑะ
สระรถการะ
สระฉัททันตะ
สระกุณาละ
สระมัณฑากิณี
สระสีหัปปาตะ
บรรดาสระใหญ่ทั้ง 7 นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง 5 ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอดมีส่วนสูงและสัณฐาน 200 โยชน์ กว้างและยาวได้ 50 โยชน์
ในป่าหิมพานต์นี้เต็มไปด้วยสัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแปลกประหลาดต่างจากสัตว์ที่มนุษย์ทั่วไปรู้จัก เป็นสัตว์หลายอย่างผสมกันแล้วตั้งชื่อขึ้นใหม่ สัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของจิตรกรไทยโบราณที่ได้สรรค์สร้างภาพจากเอกสารเก่าต่าง ๆ บรรดาสัตว์ทั้งหมดที่อ้างถึงนี้เป็นที่รู้จักในนามของสัตว์หิมพานต์[1]
#ภาพพิมพ์ #สกรีน #ลายเส้น #ลายไทย #ป่า #ช้าง #ต้นไม้ #ประดับ #ตกแต่ง #เอสาม